What is Thaksin University Community Engagement?


 

กรอบยุทธศาสตร์พันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social Engagement) ของมหาวิทยาลัยทักษิณในฐานะมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2  มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ซึ่งเน้นยุทธศาสตร์ที่มุ่งสู่เป้าหมาย ที่สำคัญ การดำเนินงานครอบคลุม 2 มิติ คือ มิติเชิงกลไกกลดำเนินงาน (Mechanism of engagement) และ มิติเชิงผลลัพธ์ (Outcome of engagement)

  1. มิติเชิงกลไกกลดำเนินงาน กระบวนการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม เช่น  ชุมชนในพื้นที่ ภูมิภาค ระดับชาติและนานาชาติ โดยมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทรัพยากรร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของภาคีเครือข่าย
  2. มิติเชิงผลลัพธ์ เพื่อนำเอาความรู้และทรัพยากรของคณะวิชาต่าง ๆ และของมหาวิทยาลัยไปทำงานร่วมกับสังคมและภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับ งานวิชาการ งานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์โดยมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมที่เป็นเป้าหมายหลักในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลการวิจัยและการเรียนการสอน การบริการวิชาการ  ดังนี
  • ยกระดับ (Enrich) ผลงานวิชาการ งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ
  • พัฒนา (Enhance) หลักสูตรการเรียนการสอน และทักษะประสบการณ์ปฏิบัติงานจริง
  • เตรียมการ (Prepare) พัฒนากำลังคนให้เป็นพลเมืองโลกที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก พร้อมรับมือหรือจัดการกับเหตุการณ์ยากลำบากที่ต้องเผชิญสร้างความเข็มแข็ง
  • (Strengthen) ของคุณค่าของการเป็นพลเมืองในการเคารพกฎหมาย ระบอบการปกครอง และะความรับผิดชอบต่อสังคม
  • วิเคราะห์ความต้องการชุมชน (Cluster)  ความร่วมมือภาคีเครือข่าย (Collaboration) ผสานคุณค่าร่วมกัน (Co-Creation ร่วมกันของชุมชน
  • ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (Systemic Change) เพื่อประโยชน์ต่อสังคมวงกว้างด้วยนวัตกรรมสังคมที่ตอบโจทย์การยกระดับคุณภาพชีวิต

Aligning the TSU Social Engagement Challenge with TSU Strategics


กรอบแนวคิดพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ (TSU Social Engagement)
 

แนวทางการสร้างกลไกการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในในเชิงระบบและสร้างรากฐานการ (Transformation change) ในการนำกลยุทธ์ไปวางแผนปฏิบัติงาน โดยกำหนดกรอบใน 3 ระดับ คือ

ระดับมหาวิทยาลัย การสร้างกลยุทธ์ผ่านแผนแผนยุทธศาสตร์ แผนการพัฒนาคุณภาพ แผนการจัดการการเรียนรู้ แผนวิจัยและนวัตกรรม และด้านต่าง ๆ

ระดับคณะ/หน่วยงาน - การออกแบบหลักสูตรประเภท Degree และ Non Degree มุ่งเน้นการสร้างวิธีปฏิบัติที่ดี - การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี แบบบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อร่วมแก้ปัญหาในเชิงพื้นที่ - การสร้างกิจจกรรมความร่วมมือระหว่างหลักสูตรและชุมชนพื้นที่ ภาคอุตสาหกรรม ในระดับ ท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ - โครงการริเริ่ม สร้างสรรค์หรือโครงการความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย - การสนับสนุนแหล่งทุน และสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านการบริการวิชาการรับใช้สังคม

ระดับบุคคล บุคลลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการทำงาน ทั้งด้านการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการและศิลปวัฒนธรรม โดยมีระบบนิเวศที่เอื้อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการข้ามศาสตร์และเกิดการเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน